วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานบญสารเดือนสิบ

              พิธีสืบสานตำนานความกตัญญูสำหรับชาวใต้ ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ นครศรีธรรมราช



ประเพณี บุญสาารทเดือนสิบเกิดขึ้นด้วยเหตุผลในทำนองเดียวกับชาวอินเดียที่มีพิธี 'เปตพลี' เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะถูกปล่อยตัวจากยมโลกเพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานในเมือง มนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ และกลับลงไปอยู่ในนรกดังเดิม ในวันแรก 15 ค่ำเดือนสิบ ลูกหลานจึงนำอาหารไปทำบุญที่วัดเพื่อเป็นการอุทิศ ส่วนกุศลให้แด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยทำในวันแรก ที่ผู้ล่วงลับมาจากยมโลก คือวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า 'วันหฺมฺรับเล็ก' และวันที่ผู้ล่วงลับจะต้องกลับยมโลกดังเดิมคือวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า วันหฺมฺรับใหญ่' (คำว่า 'หฺมฺรับ' มาจากคำว่า 'สำรับ' )
งานจะเริ่มครึกครื้นตั้งแต่วันแรก 13 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็น 'วันจ่าย' เนื่องจากชาวเมืองจะหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้จัดหฺมฺรับในวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ 'วันยกหฺมฺรับ' หรือ 'วันรับตายาย' จะยกหฺมฺรับไปวัดและนำอาหารและขนม ส่วนหนึ่งวางไว้ตามที่ต่าง เช่น ริมกำแพงวัด โคนต้น ไม้ เป็นต้น เพื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วที่ปราศจากญาติ ระยะหลังมักนิยมสร้างร้านให้ผู้คนนำขนมมาวางรวมกัน ร้านที่สร้างเรียกว่า 'หลาเปรต' (หลา คือ ศาลา)
ที่ หลาเปรตจะมีสายสินจน์ผูกอยู่เพื่อให้พระสงฆ์สวดบังสุกุลเพื่อส่งกุศลให้ผู้ ล่วงลับ เมื่อเสร็จพิธีผู้คน จะแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า 'ชิงเปรต' เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศลแรง

1.
ความเป็นมาของงานเทศกาลเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช

* “
งาน เทศกาลเดือนสิบ” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.. ๒๔๖๖ ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้า ราชการ ซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก จำรูญ(เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้นโดยได้จัดกำหนดเอางานทำบุญเดือน สิบมาจัดเป็นงานประจำปี พร้อมทั้งมีการออกร้าน และมหรสพต่างๆโดยมีระยะเวลาในการจัดงาน ๓ วัน ๓ คืน จนกระทั่งถึงปี พ.. ๒๕๓๕ ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงานจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสมเด็จพระศรี นครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ไว้อย่างสวยงาม รวมทั้งได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานไปจากเดิมหลายประการ
2.
ความสำคัญของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช

*
การ ทำบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยถือเป็นคติว่าปลายเดือนสิบของแต่ละปี เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการเกษตร ชื่นชมยินดีในพืชของตน ประกอบด้วยเชื่อกันว่า ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า “ปรทัตตูปชีวีเปรต” จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลานญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปไห้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่น้อง ลูกหลานที่ล่วงลับไป โดยการจัดอาหารคาวหวานวางไว้ที่บริเวณวัด เรียกว่า “ตั้งเปรต” ตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น “การชิงเปรต” ในเวลาต่อมา
3.
เหตุผลของการจัดหฺมฺรับ

*
การนายก ทายิกผู้ปลายเดือนสิบอันเป็นระยะเริ่มฤดูฝน “การอิงศาสภิกษุ” ด้วยพืชผลที่ยังไม่ได้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานสำหรับขบฉันในทันทีที่ขับประเคน นั้น ชาวเมืองมุ่งหมายจะให้เสบียงเลี้ยงสงฆ์ในฤดูกาลอันยากต่อการบิณฑบาต และเพื่อมิให้ฉันทาคติบังเกิดแก่ทั้งสองฝ่าย คือสงฆ์ และศรัทธาถวายพืชผักสดแก่สงฆ์ จึงใช้วิธี “ สลากภัต” คือจัดใส่ภาชนะตกแต่ง เรียกว่า “สำรับ” หรือ “หฺมฺรับ”
4. “
หฺมฺรับ”หัวใจของการทำบุญเดือนสิบ

*
การ จัดหฺมฺรับ เป็นการเตรียมเสบียงอาหารบรรจุในภาชนะเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงเทศกาล เดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ได้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ หลังจากถูกปล่อยตัวมาอยู่ในเมืองมนุษย์ช่วงเวลาหนึ่ง และต้องถึงเวลากลับไปใช้กรรมตามเดิม ฉะนั้น บรรดาลูกหลานก็จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ มิให้ขาดตกบกพร่องแล้วบรรจงจัดลงภาชนะ ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ให้สวยงาม เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้บรรพบุรุษ ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความผูกพัน และความกตัญญู



  1. การปฎิบัติตามประเพณีสารทเดือนสิบ

    *
    ช่องของการทำบุญเดือนสิบ จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน กล่าวคือ
    o
    วันหฺมฺรับเล็ก ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ เชื่อกันว่าเป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้รับอนุญาต ให้กลับมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะจัดสำหรับอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด เป็นการต้อนรับ บางท้องถิ่นเรียกวันนี้ว่า “วันรับตายาย”
    o
    วันจ่าย ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่คนนครต้องตระเตรียมข้าวของสำหรับจัดหฺมฺรับ โดยไปตลาดเพื่อจัดจ่ายข้าวของเป็นการพิเศษกว่าวันอื่นๆ
    o
    วันยกหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๔ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหาม หรือ ทูนหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปถวายพระที่วัด อาจจะรวมกลุ่มคนบ้านไกล้เรือนเคียงไปเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ หรือบางทีอาจจะจัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนานก็ได้
    o
    วันหฺมฺรับใหญ่ หรือวันหลองหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่นำอาหารคาวหวานไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่ ทำพิธีบังสุกุล อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน และตั้งเปรตเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้วิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาทำบุญให้ ขณะเดียวกันก็ทำพิธีฉลองสมโภชหฺมฺรับที่ยกมา
    o
    การจัดหฺมฺรับ ส่วน ใหญ่การจัดหฺมฺรับ ส่วนใหญ่จะใช้ของแห้งที่เก็บไว้ได้นาน เพราะสะดวกในการจัดเก็บและรักษา โดยนิยมจัดในภาชนะกระบุง กะละมัง ถัง ถาด วิธีจัดจะใส่ข้าวสารรองชั้นล่าง ตามด้วยเรื่องปรุงพวกของแห้งที่ใช้ในครัว ชั้นถัดมาเป็นพวกอาหารแห้ง หยูกยา หมากพลู และของใช้จำเป็นประจำวัน ส่วนหัวใจของหฺมฺรับที่เป็นเอกลักษณ์ขาดไม่ได้มี ๕ อย่าง (บางแห่งมี๖อย่าง) เป็นคติความเชื่อที่ใช้รูปทรง ลักษณะของขนมเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งจำเป็น และควรมีสำหรับเปรต คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมกง(ไข่ปลา) และลาลอยมัน
    6.
    สัญลักษณ์ของขนมที่ใช้ในการจัดหฺมฺรับ

    ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนเรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้

    ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลามีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้

    *
    ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่นต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้ามีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน

    ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย

    ขนมกง(ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องปรัดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะคล้ายกำไล แหวน

    ลาลอยมัน เป็นสัญลักษณ์แทนฟูก และหมอน ซึ่งมีในบางท้องถิ่น
  2. 7. การตั้งเปรต

    *
    ใน การทำบุญสารทเดือนสิบ ลูกหลานจะทำขนม หรืออาหารนำไปวางในที่ต่างๆของวัด ตั้งที่ศาลาซึ่งเป็นศาลาสำหรับเปรตทั่วไป และริมกำแพงวัด หรือใต้ต้นไม้ สำหรับเปรตที่ปราศจากญาติ หรือญาติไม่ได้ทำบุญอุทิศให้ หรือมีกรรมไม่สามารถเข้าในวัดได้ พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลทำได้โดยการแผ่ส่วนกุศล และกรวดน้ำอุทิศให้ เมื่อเสร็จลูกหลานจะมีการแย่งชิงขนม และอาหารกันที่เรียกว่า “ชิงเปรต”

    *
    การ ชิงเปรต เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากการอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต โดยมีพระสงฆ์สวดบังสุกุล พอพระชักสายสิญจน์ที่พาดโยงไปยังอาหารที่ตั้งเปรต ลูกหลานก็จะเข้าไปแย่งเอามากิน ซึ่งของที่แย่งมาได้ถือเป็นของเดนชาน การได้กินเดนชานจากวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นความเชื่อที่ถือกันว่าเป็นการแสดงความรัก เป็นสิริมงคล และเป็นกุศลสำหรับลูกหลาน

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มายากล


ความเป็นมาของวิทยากลไทย
ฉบับปรับปรุงแก้ไข เมื่อ พ.ค. 2549
โดย...ชาลี  ประจงกิจกุล

                วิทยากลในโลกเรานี้ก่อกำเนิดมานานนับพันปี มีผู้พบภาพบนผนังถ้ำ เป็นการแสดงกลด้วยถ้วย ใบและยังพบบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับวิทยากลเป็นจำนวนมากกระจัดกระจายตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สันนิษฐานโดยสรุปว่าวิทยากลน่าจะกำเนิดมาจากชาวกรีกโบราณ ค่อยๆ เผยแผ่ไป ในยุโรป  และเอเซีย


               ตอนสมัยเด็กผู้เขียนเคยนึกสงสัยและตั้งคำถามตัวเองตลอดว่า วิทยากลเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อใด ได้สอบถามผู้สูงอายุหลายท่านแต่ก็ไม่ได้คำตอบที่แจ่มชัดนัก นอกจากคำบอกเล่าที่ว่า เคยดูกลตั้งแต่เด็กพอจำความได้ เป็นการแสดงกลของชาวอินเดียเสียเป็นส่วนใหญ่ เป็นการแสดงชุดปลูกมะม่วง และแทงคนในตะกร้า       ด้วยคำถามที่ยังคั่งคาใจ  จึงได้พยายามเสาะหาหนังสือประวัติศาสตร์ไทย พงศาวดาร จดหมายเหตุ และบันทึกต่าง ๆ แต่ด้วยความที่มีความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์กระท่อนกระแท่นเต็มทีทำให้ไม่รู้ทิศทางที่จะเริ่มต้นว่าต้องอ่านเล่มไหน  อ่านอะไร อ่านอย่างไร 

                จึงเริ่มต้นไล่ย้อนลำดับจากปัจจุบันไปอดีต  ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ ไปกรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัยบันทึกต่าง ๆ ที่อ่านพบมักจะเป็นเรื่องอภินิหาร คาถาอาคม เช่น แทงลิ้น ล่องหนหายตัว ตาทิพย์ หูทิพย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สรุปไม่ได้ว่าเป็นวิทยากลหรือไสยศาสตร์ เพราะในสมัยโบราณการปกครองต่าง ๆ ยังเป็นระบบศักดินา เจ้าขุนมูลนาย ระบบทาสและไพร่ ซึ่งการจะให้บริวารอยู่ในอาณัติ ง่ายต่อการปกครองต้องทำให้คนเหล่านั้นเชื่อถือและเกรงกลัวในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์เป็นเบื้องแรก

                แม้ในประวัติศาสตร์ที่เรียนสมัยเด็ก ๆ ยังกล่าวถึงเรื่องราวสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชช่วงที่ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นฑูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสว่า เมื่อเดินทางไปถึงได้ใช้มือเปล่ารูดใบมะขามมาเสกเป่าให้กลายเป็นตัวต่อตัวแตน บินไล่ต่อยชาวฝรั่งเศสจนกระจัดกระเจิง ซึ่งออกจะฟังดูเหนือจริง แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองจึงต้องบันทึกไว้เช่นนั้น

                ในหนังสือนิทานเรื่องศรีธนญชัย ฉบับของ พ. ณ บางพลี เขียนไว้ว่ามีแหม่มสาวเดินทางเข้ามาเมืองไทยเปิดการแสดงกลแต่ถูกศรีธนญชัยท้าให้แสดงกลแข่งกัน ว่าใครสามารถปัสสาวะใส่ขวดได้โดยไม่เลอะเทอะ คนนั้นเป็นผู้ชนะ ท้ายสุดแหม่มก็ต้องแพ้กลับไป


                ส่วนตัวของผู้เขียนเองมีความเชื่อว่าวิทยากลน่าจะเข้ามาในเมืองไทยพร้อม ๆ กับการที่เริ่มทำการค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาเผยแพร่วัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งวิทยากลด้วย ฝรั่งชื่อ นิโกลาส์ แชรแวส เคยบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อ พ.ศ. 2231 ว่า นักแสดงบางคนสามารถแสดงปาฏิหาริย์ให้เกิดดอกไม้ต่างๆ ในกระถางขึ้นได้ แต่ไม่ได้ระบุว่าใครแสดง เป็นชาวอะไร ผู้เขียนเองสันนิฐานว่า คงเป็นชาวอินเดีย แสดงชุดปลูกต้นมะม่วง  จากหลักฐานตรงนี้ทำให้เรารู้ว่าเมืองไทยมีการเล่นกลมาไม่น้อยกว่า 300 ปี  และที่น่ายินดีคือเราเคยมีสมาคมกล , การประกวดวิทยากล และยังเคยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นนักวิทยากล
                 พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 5) เรื่องนิทราชาคริต ซึ่งทรงนิพนธ์ในช่วงปี พ.ศ.2420ระบุว่าในเมืองไทยเคยมีสมาคมกลมาก่อน ใช้ชื่อว่า ROYAL MAGICAL SOCIETY แต่เดิมเรียกอ่านกันว่า  รอแยล มายิเกมต์ โซไซเอตี หรือ   สมาคมนักกลหลวง (ระบุชื่อภาษาไทยตามระเบียบตำนานละคร พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.2465) สมาคมนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2419 ประธานสมาคมคือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช (ต้น สกุลภาณุพันธุ์) ซี่งทรงเป็นพระอนุชาแท้ ๆ ของร.5    มีนักวิทยากล หลายท่าน คือ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ (ต้นตระกูลชมพูนุท) พระเจ้าประดิษฐ์วรการ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ  หม่อมเจ้าประวิช แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ในหนังสือก็ได้บันทึกไว้ว่า ทรงซ้อมเล่นกลแต่จะแสดงด้วยหรือไม่นั้น ไม่มีการบันทึกไว้
          “เวลาย่ำค่ำเสด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทดสวดมนต์แล้วตรัสกับสมเด็จกรมพระฯ ทูลเรื่องภาษีอากรต่างๆ แล้วทูลว่า เจ้าพระยาสุรวงศ์มาพูดด้วยการหาดไทยกับท่านเวลาวันนี้ว่า จะช่วยฉลองพระเดชพระคุณทุกอย่าง ให้ทรงจัดการออฟฟิศเสียให้เรียบร้อยด้วยกรมหาดไทยค้นหนังสือหนังหานั้นยากนัก ถ้าจะจัดการแล้วให้เอาพระนรินทรมาไล่เลียงดูก็ได้ เขาเคยแล้ว ท่านทรงตอบเวลานี้เพิ่งแรกรับการจะขอรอไว้ก่อน ท่านจึงว่าภายหลังต่อไป (สมเด็จดูค่อยสบายพระทัยมาก) สวดมนต์จบแล้วเสด็จขึ้นทรงซ้อมเล่นกลจนเวลา ๘ ทุ่ม เลิกเสด็จขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


                หากจะไล่เรียงเอกสารบันทึกต่าง ๆ เกี่ยวกับสมาคมนักกลหลวง ก็คงต้องไล่ตั้งแต่หนังสือ ลิลิตนิทราชาคริช  ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2465 ในบทท้าย มีคำอธิบายไว้เกี่ยวกับงานรื่นเริงประจำปี ว่า


".....บางปีโปรดฯ ให้นัดแต่งพระองค์กันแปลก ๆ ซึ่งหมายถึงแต่งแฟนซี บางปีโปรดฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการสมาคม รอแยล มายิเกล โซไซเอตี เล่นกลและเล่นละครพูดเป็นการรื่นเริงประจำปี......"

                บันทึกใน หนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 1พระราชนิพนธ์ในรัชการที่ บันทึกถึงงานรื่นเริงปีใหม่ (พ.ศ.2419)ว่า
                "....หนนี้ (ร.5) แต่งแฟนซีเป็น ปชา (PACAH เจ้าเมืองตุรกี) เจ้านายองค์อื่น ๆ แต่เป็นขุนนางอังกฤษบ้าง รอบินฮูดบ้างชายครึ่งหญิงบ้าง ฯลฯ ครั้นเสวยแล้วจับฉลากของต่าง ๆ แล้วเล่นกลแลเซียเตอ (THEATRE) คือเล่นกลและละครปีนี้เล่นเรื่องอาลีบาบา ผู้เล่นกลมี กรมขุนเจริญผลฯ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นต้น พระองค์ทรงทอดพระเนตรการเล่นกลจบแล้ว ทรงตรัสว่าแลกลนี้เล่นสนุกนัก...."


                ในหนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค มีบันทึกเขียนว่า
                 "....วันแรม 13 ค่ำ เดือน จ.ศ.1239 สวดมนต์จบแล้ว ร.5ทรงซ้อมเล่นกล จนถึง ทุ่ม จึงเสด็จขึ้น...."
                หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ เล่ม หน้า 130 ของหมอบรัดเลย์  ซึ่งพิมพ์ในสมัยรัชการที่ บันทึกว่า
                "ปี พ.ศ.2409 กรมพระราชวังบวรไชยชาญ ทรงกำลังหัดเล่นกลด้วยน้ำยาเคมีต่าง ๆ เป็นการประหลาด " และท่านยังทรงลงทุนจ้างล่ามมาแปลหนังสือตำราภาษาอังกฤษออกเป็นภาษาไทย แสดงว่าวิทยากลเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ แต่มารวมตัวก่อตั้งเป็นรูปร่างในนามสมาคมนักกลหลวง ในรัชกาลที่ 5
          นอกจากนั้นแล้วยังเคยมีการแจกรางวัลให้กับผู้ที่แสดงกลดี ตามที่มีบันทึกไว้ว่า


                เสด็จมาที่กลางชลาด้านตะวันตกแห่งพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร ประทับร้อนด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายในเปนอันมาก ที่ชลาหน้าโรงกลทอดพระเนตรเล่นกลของรอยยัลมายิเกมต์ โซไซเอตี แลกลนี้เล่นสนุกนัก แลเล่นอยู่จนเวลา 10 ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเลือกใบโวต สำหรับแจกของรางวัลใครจะเล่นดีแลของดีแลคิดดี อยู่ที่ชลาโรงกลนั้น
                ณ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีชวดยังเปนสัปตศก จุลศักราช 1237 เวลาย่ำรุ่งแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรจากชลาข้างพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬารด้านตวันตก ทรงทอดพระเนตรพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นเครื่องเล่นต่างๆ  ซึ่งทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดไว้ประมาณ 10 นาที ครั้นแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานรางวัลพวกที่เล่นกล คือ
                ดีโปลมาชั่นที่ 1 เปนแพรสีเหลือง ข้างริมมีดิ้นสีทองสลับกัน มีตัวอักษรพิมพ์ในนั้น กับหีบกาไหล่ทอง 1 กล้องสำหรับดูลคร 1 ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ (ต้องถือว่าเป็นนักวิทยากลชาวไทยท่านแรก ที่ได้รางวัลที่ 1 ผู้เขียน)
                ดีโปลมาชั่นที่ 2 เปนแพรสีแดงกับหีบวงเวียนหีบ 1 แก่พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ       ซึ่งเปนช่างทำเครื่องกล
                ดีโปลมาชั่นที่ 3 เป็นแพรสีขาวกับลูกปืนสำหรับไว้บุหรี่ แก่ พระอมรวิไสยสรเดช
                เพราะท่านทั้ง 3 นี้ได้มีความชอบในการมายิกเก็มต์ โซไซเอดตี (หลักฐานแต่ละฉบับ สะกดต่างกัน  ผู้เขียน) เปนอันดับกันดังเช่นว่ามาแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแจกสำเนาความในดีโปลมาลงอักษรพิมพ์ในแผ่นกระดาษเหลืองแก่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

          ในปี พ.ศ. 2421 มีนักวิทยากลอีกท่านหนึ่งที่น่าสนในคือ หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักวิทยากลและจิตรกรวาดรูป ท่านเคยคิดจะตั้งโรงเล่นกลขึ้น แต่ต่อมาไม่ทราบด้วยเหตุใดเรื่องนี้จึงไม่มีการบันทึกเพิ่มเติม  ช่วงนั้นมีการฉายภาพหมู่ของนักกลหลวงหน้าโรงละครแห่งนี้โดยช่างภาพชาวต่างประเทศ ชื่อ เฮนรี ชูเรน ซึ่งเข้ามารับจ้างถ่ายรูปและเปิดเป็นสตูดิโอ ชื่อH.S.PHOTOGRAPHIC STUDIO BANGKOKSIAM ภาพนี้ปัจจุบันเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม ที่หอสมุดแห่งชาติ รหัส ภอ.001 หวญ.8    


                เป็นเรื่องแปลกที่เรื่องราวของ สมาคมนักกลหลวง ได้หายไปไม่มีการบันทึกไว้รัชสมัยของ รัชกาลที่ 6 ทั้งๆ ที่พระองค์ (รัชกาลที่ 6) ท่านก็ทรงเป็นผู้ที่ชื่นชมเรืองราวการแสดงอยู่ไม่น้อย  เรื่องเกี่ยวกับวิทยากลของไทยที่รวบรวมมานี้ ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าครบถ้วนเพราะยังคงมีเรื่องราวอีกมากที่ยังหาไม่พบ ในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะสืบค้นเรื่องราวของวิทยากลไทย ในยุคช่วงสงครามโลก ที่เข้ามาเผยแผ่ในรูปแบบของ กลกลางแปลง กลขายยา และ ปาหี่


เอกสารอ้างอิง
- เอกสารชมรมสยามเมจิกคลับ ฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 โดย ชาลี ประจงกิจกุล
-  ลิลิตนิทราชาคริช ปี พ.ศ. 2465 หน้า 231
หนังสือบางกอกรีคอร์เดอร์ เล่ม ปี พ.ศ. 2409 หน้า 130
จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวัน ปี พ.ศ. 2476 และ พ.ศ.2477 ภาค 1,6,7
หนังสือข่าวราชการปี พ.ศ. 2418 และ พ.ศ. 2419
ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2231
จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป รศ. 116 โดย พระยาศรีสหเทพ
-  หนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือน กรกฎาคม 2539
หนังสือราชสำนักสโมสร โดย อเนก นาวิกมูล

-  หนังสือเจ้าชีวิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ โดยพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์


                                                                        
วาไรตี้ : อมตะมายากลในรอบ 100 ปี ปรากฏการณ์บนผืนแผ่นดินไทย
การแสดงเก่าแก่มีสีสันชวนติดตาม สร้างความสนุก สนานเพลิดเพลินเข้าถึงกลุ่มผู้ชมทุกเพศทุกวัย ที่สำคัญสามารถสร้างความประหลาดใจ ตามติดด้วยความทึ่ง ตะลึงในสิ่งที่เกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อการแสดงจบลง...

ใช่แล้วนี่คือ มายากล ศาสตร์การแสดงที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ มีประวัติความเป็นมายาวนานและด้วยความอมตะของมายากลที่สามารถเปลี่ยนจินตนาการความฝันทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เสมือนหนึ่งว่าเป็นไปได้ด้วยเทคนิค ไหวพริบความสามารถของนักแสดง

มายากลจึงมีเสน่ห์ชวนติดตามตลอดมาทุกยุคสมัย โดยเฉพาะการแสดงมายากลไทยในรอบ 100 กว่าปีที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นมากมาย และเมื่อไม่นานที่ผ่านมาภาพความพิศวงของมายากลได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ซึ่งครั้งนั้นได้รวมนำความมหัศจรรย์ของกลต่าง ๆ ที่เคยลือลั่นในอดีต ปัจจุบันมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจมายากลได้ทำความรู้จัก

จากประวัติความเป็นมาของมายากลที่มีมายาวนาน หากย้อนกลับไปยังเส้นทางมายากลไทยในสมัยต่าง ๆ ชาลี ประจงกิจกุล นักแสดงมายากล เลขาชมรมวิทยากลสยามเมจิกกล่าวว่า มายากลไทยหรือวิทยากลไทยเริ่มเข้ามาในเมืองไทยเมื่อไหร่นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่จากที่ศึกษาประวัติศาสตร์เชื่อว่าน่าจะมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยามาพร้อมกับการทำการค้ากับชาวต่างชาติ อาทิ โปรตุเกส ฮอลันดา จีน อินเดีย ฯลฯ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งการแสดงครั้งนั้นเป็นกลเสกดอกไม้ หยิบของออกจากกระถาง ฯลฯ

ต่อจากนั้นมาไม่มีการบันทึกถึงเรื่องราวการแสดงกลอีก กระทั่งมาพบในเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งบันทึกว่า มายากลไทยเริ่มมีมาแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 4 แต่รวมตัวก่อตั้งเป็นสมาคมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยใช้ชื่อว่า สมาคมนักกลหลวง มีการจัดประกวดวิทยากล ประดิษฐ์อุปกรณ์เล่นกลรวมถึงระบุว่าใครเป็นคนประกวดได้รางวัลอะไร ใครได้ที่หนึ่ง สอง สาม ฯลฯ เช่นเดียวกับการแสดงกลสมัยนั้นเป็นกลอุปกรณ์ กลทางวิทยาศาสตร์ใช้น้ำยาเคมีเปลี่ยนน้ำเปล่าให้เป็นน้ำแดง เบียร์ เสกควันออกจากแก้ว ฯลฯ มากกว่าที่จะใช้ความคล่องแคล่วของมือนำเสนอกล

จากนั้นมาเรื่องราวของมายากลไทยได้ห่างหายไปจากบันทึกประวัติศาสตร์อีกครั้ง กระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกสงบลงมีการแสดงกลเข้ามา 3 สายได้แก่ สายอินเดีย จีน และ ยุโรป

“ในสายอินเดียการแสดงกลมีรูปแบบเป็นกลกลางแปลง เป็นกลที่แสดงในที่โล่ง ไม่มีเวที มีกลยอดนิยมอย่าง กลอับดุล ซึ่งจะให้ผู้ช่วยซึ่งนอนคลุมหน้าตอบคำถามเวลาที่ชี้ไปในกลุ่มผู้ชมอย่างให้ตอบว่าเป็นชายหรือหญิง ผมสั้นยาวอย่างไร รวมถึงทายเลขและสิ่งของที่ผู้ชมกำไว้ เช่นเดียวกับ กลเสกมะม่วง ซึ่งนำเอาเมล็ดมะม่วงไปปักดิน เอาผ้าคลุมไว้เมื่อเปิดออกแต่ละครั้งต้นมะม่วงก็จะโตขึ้น โตขึ้น กระทั่งเปิดออกครั้งสุดท้ายสามารถตัดผลเอามาให้คนที่มุงดูกินได้สร้างความฮือฮามาก ๆ นอกจากนี้ยังมีกลเรียกงู แทงคนในตะกร้าแสดงร่วมด้วยและทุกครั้งที่แสดงจบจะมีการขายสินค้า ขายยาโดยเฉพาะยาปลูกผม ปลูกหนวด ปลูกคิ้ว เป็นต้น

ขณะที่กลของจีนเรียกว่า กลปาหี่ ก่อนแสดงทุกครั้งจะตีกลอง ฉิ่ง ฉาบ รำมวย รำดาบเรียกผู้ชม มีกลที่มีสีสันอย่างยกเก้าอี้ด้วยดวงตา ค้อนปอนด์ทุบก้อนหินซึ่งวางบนหน้าท้องรวมถึงกลเสกหินให้เป็นกบ ฯลฯ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชมและเมื่อแสดงเสร็จจะขายยา ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรค ยาแก้ปวดฟัน ส่วนกลยุโรปที่เข้ามาเป็นกลที่ไม่เปิดการแสดงเหมือนกลกลางแปลง แต่จะเข้ามาในรูปละครสัตว์มีวิทยากลเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงเท่านั้นและมักเปิดการ แสดงที่ย่าน วังบูรพา วังสราญรมย์ ฯลฯ สื่อออกไปในแนวอิทธิฤทธิ์ เวทมนตร์ แต่ปัจจุบันแนวคิดเหล่านี้เปลี่ยนไปทั้งในต่างประเทศและไทย”

จากนั้นมามายากลในปัจจุบันก็เริ่มคลี่คลายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกเริ่มมีนักแสดงจากต่างประเทศเข้ามาแสดงในเมืองไทยมีทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่นรวมทั้งฟิลิปปินส์ทำให้คนไทยได้เห็นรูปแบบการแสดงวิทยากลในรูปแบบ การแสดงบนเวที (stage magic) ซึ่งนักแสดงจะสวมใส่ชุดทักซิโด้ หยิบกระต่ายออกจากหมวก เสกนก เสกกระต่าย เสกคนลอย เสกช้างหายเครื่องบินมา ฯลฯ สร้างความพิศวงตื่นใจ

นอกจากกลเวทียังมีการแสดงกลแบบระยะใกล้ (Close up) ซึ่งเป็นกลที่มีสี สันมีเสน่ห์สร้างความเพลิดเพลินชวนติดตามไม่แพ้กัน กลประเภทนี้ได้แก่ กลเชือก กลไพ่ กลเหรียญฯ สำหรับกลอมตะได้รับการยอมรับตลอดกาลที่ผ่านมามีมากมาย อย่าง ถ้วย 3 ใบ (Cups and ball) ซึ่งมีอุปกรณ์ถ้วย 3 ใบและลูกบอล 3 ลูก เมื่อลูกบอลลูกหนึ่งใส่เข้าไปใต้ถ้วยเมื่อเปิดออกมาลูกบอลจะวิ่งไปอีกที่ และเมื่อเปิดถ้วยพร้อมกันลูกบอลทั้งหมดจะกลายเป็นแอปเปิ้ลบ้าง มะนาวบ้าง ส้มบ้างซึ่งกลนี้เล่นครั้งใดก็ยังคงสร้างความสนุกสนานถือเป็นหนึ่งในกลคลาสสิก

ที่สำคัญกลชุดนี้ยังเป็นอุปกรณ์กลชิ้นแรกของโลกซึ่งมีผู้พบภาพบนผนังถ้ำเมื่อ 4,000 กว่าปีที่อียิปต์ เช่นเดียวกับ ชุดห่วงเหล็ก ที่คล้องไปคล้องมา ต้นตำรับจากจีนถือเป็นมายากลคลาสสิกของโลกอีกชุดหนึ่งที่นักวิทยากลจะต้องแสดงได้ เป็นต้น

ขณะที่มายากลทั่วโลกมีรูปแบบ โดดเด่นเฉพาะตัว กลในเอเชียก็มีสีสันมี เอกลักษณ์เช่นกัน โดยเฉพาะกลจากจีน อินเดีย พม่า ส่วนมายากลไทยปัจจุบันได้รับการตอบรับเพิ่มมากขึ้น มีนักมายากลจำนวนไม่น้อยที่ไปสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศ รวมถึงอุปกรณ์กลที่คนไทยผลิตขึ้นเองที่ผ่านมา ได้สร้างความฮือฮาในแวดวงมายากลต่างแดนโดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น อย่าง บุคส์ ออฟ เมอร์ลิน หนังสือปกแข็งหนาประมาณครึ่งนิ้วเป็นหนังสือบาง ๆ ธรรมดา ๆ แต่พอเปิดออกมาไม่ว่าใส่อะไรลงไปก็จะกลายเป็นสิ่งนั้น เช่นเดียวกับ กระเป๋าเมาเมาวอลเล็ต กระเป๋าพกที่สามารถหยิบของขนาดใหญ่ อย่างแก้วและขวดออกมาได้

แม้อุปกรณ์กลจะช่วยสร้างสีสัน เติมความสนุกสนานให้กับการแสดง แต่การ แสดงกลไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เยอะหรือมี อุปกรณ์ราคาแพง อุปกรณ์ที่มีอยู่ทั่วไปสามารถนำมาเล่นกลได้ขอเพียงรู้จักและเข้าใจศาสตร์ แห่งกลซึ่งเป็นการแสดงที่มีศิลปะ มีเสน่ห์ อยู่ที่การทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เสมือนว่าเป็นไปได้ โดยใช้เทคนิคหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการซ่อน บัง การแอบหรือการเบนความสนใจ

ที่สำคัญหัวใจของกลไม่ได้อยู่ที่ความลับ แต่อยู่ที่การฝึกฝนและการนำเสนอที่แนบเนียนแยบยล

และทั้งหมดนี้คือมายาแห่งกล ศาสตร์การแสดงที่มีสีสันพร้อมมอบความ สุขความเพลิดเพลินให้กับผู้ชมสัมผัสตลอดกาล.